ถ้าพูดถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบอาคารที่ดูโมเดิร์น เรียบง่าย แต่กลับมีบรรยากาศของ Space ที่พิเศษ งานดีไซน์ของเหล่าสถาปนิกญี่ปุ่นจะถูกนึกถึงเป็นลำดับเเรก ๆ เพราะผลงานที่สถาปนิกญี่ปุ่นรังสรรค์ขึ้นมา ไม่ใช่แค่งานดีไซน์ที่ดูเป็นสากลและแปลกตา แต่ยังมีการสอดแทรกแนวคิด ปรัชญาเอาไว้อย่างแนบเนียน เป็นตัวอย่างการดีไซน์ให้งานสไตล์ Eastern มีความเป็นสากลและน่าประทับใจ

          DECAAR by SCG ได้หยิบแนวคิดในการดีไซน์ของสถาปนิกญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงที่มีแนวคิดที่น่าสนใจและงานดีไซน์ที่เป็น Iconic Architecture มาให้ได้ชม 3 ท่าน ได้เเก่

          Tadao Ando สถาปนิกที่เบลนอาคารให้กลายเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติรอบตัวและจัดวาง Space ให้กลมกลืนกับธาตุทั้ง 5 และ Kengo Kuma สถาปนิกที่ครีเอทดีเทลออกแบบอันซับซ้อนน่าหลงใหลและสร้างสรรค์แพทเทิร์นใหม่ ๆ จากวัสดุธรรมชาติ รวมไปถึงตัวแทนสถาปนิกรุ่นใหม่ที่สร้างการเชื่อมต่อกับธรรมชาติในมุมที่ต่างออกไปอย่าง Junya Ishigami ด้วย

          ความน่าสนใจ คือการออกแบบของสถาปนิกทั้ง 3 ท่าน ได้มีการสร้าง Connection ระหว่างงานดีไซน์และธรรมชาติอยู่เสมอ ผ่านดีเทลการเลือกสี Texture การสร้างแพทเทิร์นของวัสดุ ตลอดจนการดีไซน์ช่องแสงและ Space ภายในอาคาร

          ซึ่งเราสามารถถอดสิ่งเหล่านี้มาเป็นไอเดียไปปรับใช้ให้งานออกแบบสามารถสื่อสารคอนเซ็ปต์ ความหมาย นัยยะ เเละคาแรกเตอร์ เพื่อดีไซน์ที่โดดเด่น เเตกต่าง เเละสะดุดตา




สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ ตัวอย่างงานดีไซน์ที่เชื่อมโยงธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง

          สิ่งหนึ่งที่สามารถสังเกตได้จากงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงสมัยใหม่ คือผลงานดีไซน์ของญี่ปุ่นจะยึดโยงเข้ากับธรรมชาติหรือปรัชญาการใช้ชีวิตเสมอ พื้นที่ในบ้านหรืออาคารที่มีกลิ่นอายญี่ปุ่นจึงมีบรรยากาศที่เฉพาะตัวแม้แต่ผลงานออกเเเบบโมเดิร์นในปัจจุบัน




          จุดเด่นที่เห็นได้ชัด คือการดีไซน์ช่องแสง Indirect Light ที่รับแสงเข้ามาในอาคารแบบอ้อม ๆ มีการสะท้อนองศาของแสงธรรมชาติไปมา จนในท้ายที่สุดก็ได้รูปแบบแสงที่นุ่มนวลส่องเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งดีไซน์นี้ช่วยลดความร้อนและลดเอฟเฟคของแสงที่ดูแข็งที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ได้ดี ทั้งยังช่วยให้พื้นที่ใช้งานมีบรรยากาศที่อบอุ่น น่าใช้งานมากขึ้น







          อีกจุดหนึ่งที่เรามักเห็น คือการปรับให้วิวภายนอกเป็นพระเอกของงานดีไซน์ โดยการวางองศาอาคารให้สอดคล้องกับแสงและเงาที่จะเกิดขึ้น หันช่องเปิดไปในทิศที่จะมองเห็นวิวสวย ๆ เลือกวัสดุตกแต่งจากธรรมชาติ เช่น ไม้หินหรือคอนกรีต และสร้าง Contrast ระหว่างภายในและภายนอกเพื่อทำให้ภาพวิวทิวทัศน์นั้นมีความชัดเจนที่สุด เทคนิคนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานได้ดื่มด่ำและได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

          ในงานออกแบบของ 3 สถาปนิกที่หยิบยกมามานี้ แม้จะมีดีไซน์ การเลือกใช้วัสดุ และคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกัน แต่ก็มีการเชื่อมโยงและดีไซน์ให้อาคารเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเช่นเดียวกัน



Kengo Kuma สถาปัตยกรรมแห่งมิติและชีวิต

          ถ้าพูดถึงลายเซ็นการออกแบบของ Kengo Kuma เราจะนึกถึงงานที่มักตกแต่งด้วยวัสดุจากธรรมชาติ และเทคนิคการดีไซน์ฟาซาดอาคารด้วยแพทเทิร์นแปลกใหม่ เช่น การนำเอาแผ่นไม้มาดีไซน์เป็นฟาซาดอาคารโดยวางตั้งฉากกับแนวผนังและวางสลับด้วยจังหวะและองศาที่ไม่เหมือนใคร หรือการนำเอาแผ่นหินมาจัดระยะจนกลายเป็นฟาซาดที่ดู Impact






          ด้วยรูปแบบที่มีองศา Slope ดูแปลกตา รวมถึงมีการตกแต่งที่ทำให้งานดูมี Movement งานดีไซน์ของ Kengo Kuma จึงเต็มไปด้วยชีวิตชีวาและมิติที่สวยงามที่เสริมให้สถาปัตยกรรมโดดเด่นท่ามกลางบริบทที่ตั้ง แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ถูกดีไซน์ให้สอดคล้องและเล่าเรื่องราว ณ จุด ๆ นั้นออกมาได้อย่างกลมกลืน







          หากต้องการให้งานดีไซน์มีกลิ่นอายมีชีวิตชีวาและดูโดดเด่นอย่างงานของ Kengo Kuma อาจลองดีไซน์ฟอร์มอาคารให้เป็นฟอร์มเรขาคณิตที่แปลกใหม่ เน้นตำแหน่งช่องแสงแบบ Indirect Light และเลือกวัสดุตกแต่งฟาซาดที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น ลวดลายไม้หรือลวดลายหินมาตกแต่งฟาซาดทั้งภายในและภายนอกได้





Tanao Ando สถาปัตยกรรมแห่งความนิ่งสงบ

          Tadao Ando เป็นสถาปนิกญี่ปุ่นที่งานดีไซน์แต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์สูง เป็นงานสไตล์โมเดิร์นที่เลือกใช้รูปร่างเรขาคณิตและวัสดุอย่างคอนกรีตเป็นหลักโดยแทบจะไม่ตกแต่งด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเติมเลย

          แม้งานของ Tadao Ando จะมีความโมเดิร์น มีฟอร์มที่เรียบง่ายและการใช้วัสดุคอนกรีตเปลือยที่สังเกตเห็นร่องรอยของไม้แบบ แต่กลับอบอวลไปด้วยปรัชญาการใช้ชีวิตและแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง






          งานดีไซน์ของ Tadao Ando ภายนอกจะเห็นเพียงฟาซาดคอนกรีตทึบตันกับช่องแสงเล็กน้อยเหมือนอย่างอาคารทั่วไป แต่เมื่อเข้าสู่ด้านในจะพบกับ Space ที่แม้จะปิดทึบจากภายนอกแต่ก็ยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติอยู่ โดยบรรยากาศของ Space จะมีความสงบนิ่ง สวยงามด้วยฟอร์มเรขาคณิตและดีไซน์แสงเงาที่ลงตัว ผู้ใช้งานจึงได้สัมผัสกับธรรชาติต่าง ๆ อย่างไกล้ชิด






          ดีไซน์เนอร์ที่หลงใหลสไตล์งานคอนกรีตแต่ไม่อยากโชว์ผิวโครงสร้างจริงเพราะกังวลเรื่องความชื้นและปัญหาการเกิดคราบสกปรก การเลือกวัสดุตกแต่งทดแทนที่มีลวดลายคอนกรีตหรือสามารถโชว์สัจจะวัสดุที่สวยงามได้และยังสามารถทำความสะอาดคราบบนแผ่นได้ด้วยตัวเอง ก็เป็นตัวเลือกในงานดีไซน์ที่น่าสนใจที่ทำให้งานสไตล์คอนกรีตโชว์ Texture ได้ยาวนาน




Junya Ishigami สถาปัตยกรรมแห่งความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

          สถาปนิกญี่ปุ่นที่ทำลายเส้นเเบ่งระหว่างธรรมชาติภายนอกกับพื้นที่ภายในอาคารให้เชื่อมต่อกันได้อย่างไร้ขอบเขต ในหลายผลงานของ Junya Ishigami มีการดีไซน์ที่ช่วยสร้างประสบการณ์เชิงพื้นที่แบบใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้งานเสมอ ผ่านการดีไซน์ช่องแสง จังหวะการเปิด-ปิดของพื้นที่ และวัสดุตกแต่ง ซึ่งทำให้ Space นั้น ๆ กลืนหายและกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน






          การออกแบบให้อาคารหรือพื้นที่ใช้งานกลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบตัวในสไตล์ของ Junya Ishigami จุดที่เห็นได้ชัด คือการเลือกใช้วัสดุที่สอดคล้องกับบริบทรอบ ๆ ซึ่งไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นวัสดุจากธรรมชาติเท่านั้นถึงจะดีไซน์ให้เกิดความสอดคล้องเหล่านี้ได้

          ยกตัวอย่าง โครงการ Plaza of Kanagawa Institute of Technology ที่เลือกใช้ฟอร์มและวัสดุสีขาวคลีน เพื่อเชื่อมต่อกับท้องฟ้าและให้บรรยากาศที่เกิดขึ้นมีความเบาสบาย ดูล่องลอย ในขณะที่โครงการ House & Restaurant ร้านอาหารและบ้านใต้ดินที่เลือกกรุผิวฟาซาดให้มีความขรุขระคล้ายกับโพรงดินธรรมชาติ





          ดีไซน์เนอร์สามารถออกแบบ Space ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้และเชื่อมต่อกับธรรมชาติได้แม้อยู่ด้านในอาคาร และเลือกใช้วัสดุที่หลากหลายและแปลกใหม่มากขึ้น โดยไม่ยึดติดกับการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดงานดีไซน์ที่กลมกลืนกับธรรมชาติ แต่ในอีกมุมหนึ่งก็มีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครอย่างสไตล์งานของ Junya Ishigami ได้




ผนังตกแต่งจาก DECAAR by SCG ช่วยเติมเต็มให้งานดีไซน์โชว์คาแรกเตอร์ได้ชัดเจน

          ในการขับเน้นให้งานดีไซน์มีคาแรกเตอร์ตรงตามคอนเซปต์และสื่อสารออกมาอย่างชัดเจนจำเป็นต้องอาศัยวัสดุตกแต่งที่มีพื้นผิว สีสันและลวดลายที่เหมาะกับงานดีไซน์

          และหากดีไซน์เนอร์ท่านไหนต้องการสร้างสรรค์ให้งานสไตล์โมเดิร์นมีกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นที่เข้มข้นมากขึ้น หรือต้องการเน้นให้งานดีไซน์กลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบตัวตามแนวคิดการออกแบบของเหล่าสถาปนิกญี่ปุ่น DECAAR by SCG มีผนังตกแต่งสำหรับตกแต่งฟาซาด ผนังอาคาร รวมไปถึงระแนงตกแต่งที่พร้อมรองรับความต้องการครบครัน





          ยกตัวอย่าง ผนังตกแต่ง KMEW ที่มีลวดลายเสมือนวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน คอนกรีต ที่นอกจากจะสวยและ Texture มีมิติแล้ว ยังมีเทคโนโลยีทำความสะอาดตัวเองได้ด้วย หรือหากต้องการให้มีกลิ่นอายญี่ปุ่นดั้งเดิมที่สงบ ผ่อนคลายและมีความเท่ในตัว KMEW รุ่น Yakisugi โทนไม้เผาไฟสีดำก็ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเลย





          หรือในงานที่ต้องการโชว์สไตล์โมเดิร์นที่เรียบง่าย เน้นสัจจะวัสดุที่สวยงามในตัวเอง ก็มีผนังตกแต่ง KMEW ในซีรีย์คอนกรีต ผนังตกแต่ง KMEW Solido ที่เกิดคราบขาวตามธรรมชาติตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปก็มีให้เลือกใช้งาน




          และในงานดีไซน์ที่ต้องการสร้างฟาซาดที่แปลกใหม่ มีแพทเทิร์นไม่เหมือนใคร DECAAR by SCG มีผนังตกแต่ง SCG Modeena และ SCG Modish ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ที่มีแพทเทิร์นเซาะร่องให้เลือกใช้หลากหลายโปรไฟล์ ช่วยเสริมงานดีไซน์ให้มีมิติ เล่นแสงเงา สร้างรูปลักษณ์ที่สวยยิ่งขึ้นกว่าเดิม

          ส่วนในงานดีไซน์ที่ต้องการโชว์ความเป็นธรรมชาติ DECAAR by SCG มีระแนงตกแต่งอลูมิเนียม SCG ALU-X ที่สามารถนำมาครีเอทระแนงแบบโปร่ง ๆ พร้อมคุณสมบัติอลูมิเนียมเนื้อแน่น หนา 1 มม. ที่ดัดโค้งได้ ให้ลุคเหมือนไม้ธรรมชาติแต่ทนทานได้ยาวนานมากกว่า แข็งแรง Maintenance น้อย ไม่ต้องกังวลเรื่องผุพังเหมือนไม้จริง

          และในงานที่อยากได้ฟาซาดที่สวยงามเสมือนไม้ธรรมชาติสามารถเลือกใช้ SCG Wood-D ที่มีเทคโนโลยี Digital Printing พิมพ์ลายไม้จริงลงบนแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยสามารถติดตั้งได้หลากหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นฝ้าเพดาน ผนังอาคารหรือกรุตกแต่งตามเสา และยังติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ก็ช่วยเสริมให้คาแรกเตอร์ของงานดีไซน์ชัดเจนขึ้นได้





ติดตามเรื่องราวน่าสนใจ อัปเดตเทรนด์งานดีไซน์หรือวัสดุตกแต่งฟาซาดใหม่ ๆ ได้เพิ่มเติมผ่านทางเฟสบุคเพจ DECAAR by SCG และเว็บไซต์: www.decaarbyscg.com

          แอ้างอิงภาพ
https://www.archdaily.com/900661/toyama-kirari-kengo-kuma-and-associates?ad_source=search&ad_medium=projects_tab
https://www.archdaily.com/1018259/kibi-kogen-n-square-kengo-kuma-and-associates?ad_source=search&ad_medium=projects_tab
https://www.archdaily.com/792313/umeda-hospital-kengo-kuma-and-associates?ad_source=search&ad_medium=projects_tab